ทุกวันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว Skin care/ Personal care รวมถึงเครื่องสำอางใหม่ๆ จึงทำให้การจะเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวนั้นดูยาก แต่จริงๆแล้วตลาดนี้ยังคงเติบโตแบบไม่มีถดถอย และช่องทางออนไลน์ก็ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวไปอย่างมาก ดังนั้นหากเราจะเริ่มต้นสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างน้อยแบรนด์หนึ่ง ต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ติดตามบทความนี้ไปพร้อมกันกับเนเจอร์พรอฟได้เลย
1. ผลิตภัณฑ์ที่จะสร้างแบรนด์
องค์ประกอบแรกที่เราต้องมีให้ชัดเจนคือผลิตภัณฑ์ที่เราต้องการสร้างแบรนด์ ตัวอย่างคำถามที่ควรตอบให้ได้ก่อนเริ่มคือ :
โดยผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์ สามารถลงสนามสำรวจเพื่อที่จะได้มาซึ่งข้อมูลของลูกค้า สอบถามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาสินค้าของเราให้ตรงกับความต้องการของ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งด้านเทรนด์ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงตลาด และผู้บริโภคเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อยืนยันข้อมูล
2. ข้อมูลคู่แข่ง
รายชื่อสินค้าแบรนด์ที่จับกลุ่มผู้บริโภคเดียวกัน ในราคาที่ใกล้เคียงกัน วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน วิธีการทำตลาด วิธีการขาย การตอบคำถามลูกค้า คำถาม คำติชมของลูกค้าแบรนด์คู่แข่ง เป็นโอกาสให้คุณได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของแบรนด์และความต้องการของลูกค้าได้ก่อนการออกผลิตภัณฑ์ของคุณเอง
3. ข้อมูลผู้บริโภค
ศึกษากลุ่มเป้าหมาย ความต้องการ ปัญหา และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย โดยอาจใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Google Trends ที่เราสามารถใส่คีย์เวิร์ดในการเสิร์จหาจากกูเกิลเพื่อตรวจสอบดูว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมีการค้นของคำๆ นี้มีเทรนด์เป็นอย่างไรบ้าง
4. พัฒนาผลิตภัณฑ์
การตลาดที่ดีเริ่มต้นที่ผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีความโดดเด่นเฉพาะตัว ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์นั้นโดยรวมแล้วสามารถพัฒนาได้ 2 แบบ คือ
ซึ่งทั้งสองแบบนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ก็แตกต่างกัน หากคุณเลือกที่จะขายผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง ขั้นตอนการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์นั้นต้องเริ่มตั้งแต่
ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้สูตรที่ลงตัวอาจจะใช้เวลานาน ขั้นตอนนี้จะต้องทำงานร่วมกับแลป บริษัทรับผลิต OEM ที่ได้มาตรฐาน
5. เลือกโรงงานผลิต
การเลือกโรงงานผลิตเครื่องสำอางสำคัญมาก ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่ามีโรงงาน OEM อยู่มาก การบริการหลากหลายขึ้นกับแต่ละโรงงาน โดยเนเจอร์พรอฟ ให้บริการพัฒนาสูตรในแลป R&D ขอจดแจ้ง อย. รับผลิตเนื้อผลิตภัณฑ์ พร้อมบรรจุและแพ็คสินค้า โดยรวมแล้วผู้ลงทุนควรพิจารณาโรงงานสำหรับผลิตสินค้าดังต่อไปนี้
6. การตลาด
การตลาดที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่ตัวผลิตภัณฑ์เอง หากสินค้าดีผู้บริโภคก็จะทำการตลาดด้วยการบอกต่อ คอนเซ็ปต์เฉพาะตัวช่วยให้การบอกต่อแบรนด์นั้นง่ายขึ้น ดังนั้นชื่อแบรนด์ โลโก้ การใช้สี ฟอนต์ และคอนเซ็ปต์ของแบรนด์โดยรวม ควรจะสามารถจดจำได้ง่าย น่าดึงดูด และมีความเสมอต้นเสมอปลาย สื่อสารจุดยืนของแบรนด์ บุคลิกของแบรนด์จะครอบคลุมไปถึงการออกแบบสื่อต่างๆ อีกด้วย mood and tone รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในทางบวก การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าใช้และโดดเด่นเมื่อวางเทียบกับแบรนด์อื่น แล้วสามารถดึงดูดให้ลูกค้าหยิบได้มากกว่า การวางแผนการส่งเสริมการขายเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการ ให้ตรงกับเอกลักษณ์ของแบรนด์ น่าสนใจ ดึงดูด และเข้าใจง่าย
7. บรรจุภัณฑ์
8. ขออนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอาง
โรงงานรับจ้างผลิต OEM แบบครบวงจร มีบริการจดแจ้งเครื่องสำอางกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
9. วางแผนการจัดส่ง และการชำระเงิน
สะดวก และรวดเร็ว เป็นหัวใจหลักของธุรกิจออนไลน์ในปัจจุบัน ก่อนที่จะเริ่มต้นวางขายสินค้าออนไลน์ เราจะเลือกให้ผู้บริโภคชำระเงินทางใด และจัดส่งอย่างไรได้บ้าง ควรมีหลายช่องทางให้ผู้บริโภคได้เลือก และต้องวางแผนขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน
10. บริหารสต็อกสินค้า
ผู้เริ่มต้นลงทุนสามารถจัดการปัญหาสินค้าหมด ไม่พอขาย โดยใช้ระบบสต็อกสินค้าที่อัพเดทตลอดเวลา มีการควบคุมปริมาณแสง อุณหภูมิ และความชื้นของพื้นที่จัดเก็บสินค้า เพื่อคงคุณภาพที่ดีสินค้า จำแนกสินค้าตามล็อตการผลิตอย่างชัดเจน ช่วยให้ง่ายต่อการตรวจสอบวันหมดอายุและเป็นการป้องกันสินค้าค้างสต็อกและหมดอายุ
11. สร้างตัวตนและความรู้จักบนโลกออนไลน์ (Online Brand Identity and Awareness)
- สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นของตัวเอง : ทั้ง Facebook Instagram Line Website เว็บ e-commerce สร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ คำอธิบายผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ภาพถ่ายสินค้าที่ดูดี พรีเซนเตอร์ วิธีใช้ผลิตภัณฑ์
- รีวิวสินค้า : ผู้บริโภคส่วนใหญ่ จะค้นหารีวิวของสินค้าก่อนทำการซื้อ ดังนั้นก่อนที่จะวางตลาดเราอาจจะส่งผลิตภัณฑ์ไปให้ Beauty blogger เน็ตไอดอล เพจรีวิว หรือผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อออนไลน์ก่อน อาจจะเป็นเพื่อนๆ ให้ช่วยรีวิวบนเพจ หรือจัดโปรโมชั่นลดราคาสำหรับลูกค้าที่กลับมารีวิวให้ก็ได้เช่นกัน
- ผลิตคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เป็นการ “สร้างบรรยากาศของแบรนด์” เป็นการให้ไอเดียกับผู้บริโภคได้ว่าสินค้าเรานั้นสามารถใช้ได้หลายโอกาส หลายสถานที่ เป็นต้น
- การบริการลูกค้าที่ดี ด้วยความจริงใจ : แบรนด์ดี สินค้าดี จะขาดการบริการที่ดีไม่ได้เลย การตอบคำถามลูกค้า รวมทั้งการสื่อสารกับลูกค้า ก็สื่อถึงความจริงใจของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
12. งบประมาณ
เริ่มต้นตั้งแต่ค่าบริการพัฒนาสูตร ค่าจดแจ้ง อย. เครื่องสำอาง ค่าเนื้อผลิตภัณฑ์ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าทำความสะอาด ค่าบรรจุ ค่าแพ็คจนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
จะเห็นได้ว่าการสร้างแบรนด์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด การวางแผนที่ดีจะช่วยให้สามารถคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มองเห็นขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนขึ้น มองเห็นภาพองค์ประกอบธุรกิจดูแลได้ง่ายขึ้น
บริษัท เนเจอร์พรอฟ จำกัด ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับผู้เริ่มลงทุน โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์