“ Your clean skincare might have just 1% organic ingredients ”
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวของคุณที่เคลมว่า Clean แท้จริงแล้วอาจจะมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคแค่ 1 %
หลายคนอาจคิดว่า ผลิตภัณฑ์คลีนที่คุณใช้อยู่ คือสะอาดโปร่งใส เทียบเท่าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค แต่ความเป็นจริงแล้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด (Clean products) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green products) ค่อนข้างที่จะปราศจากสารอันตราย และไร้สารเคมี มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปแล้วจำนวนมาก แต่หลายผลิตภัณฑ์เหล่านี้กลับโจมตีต่อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทั่วไปว่าไม่ดี ด้วยการใช้โฆษณาชวนเชื่อที่ว่าผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้นดีกว่า ปลอดภัยและไร้สารเคมี แต่จริงๆแล้วก็ไม่มีอะไรยืนยันได้ เพราะส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ระบุไว้อาจไม่เป็นไปตามที่เคลมไว้หน้าฉลากก็ได้ ดังนั้นผู้บริโภคจำเป็นต้องศึกษาและเลือกซื้ออย่างมีสติ
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคนั้นดีต่อสุขภาพและส่งเสริมความยั่งยืนจริงหรือไม่
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นออร์แกนิค ไม่ได้หมายความว่าคุณจะได้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป ไม่เหมือนกับอาหารออร์แกนิค ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เคลมว่าเป็นออร์แกนิคอาจจะมีออร์แกนิคจริงๆเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะเป็นอะไรก็ได้ รวมถึงสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อผิวของคุณ เช่น สารเคมี หรือสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง อีก99%
เพราะผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้หลายๆแบรนด์ลงมาใช้การตลาดนี้ในการโปรโมทผลิตภัณฑ์ของตน เคลมว่าเป็นผลิตภัฑณ์ออร์แกนิค ทั้งๆที่ในความเป็นจริงอาจมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคเพียงแค่ 1% เท่านั้นก็เป็นได้ หลายๆแบรนด์ใช้ช่องว่างทางกฎหมายในการโฆษณาเกินจริง หรือบินเบือนข้อมูลทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งที่คุณซื้อนั้นเป็นสินค้าออร์แกนิคจริงๆ
มาตรฐาน COSMOS เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นออร์แกนิคจริงๆ นอกจากคำเคลมบนผลิตภัณฑ์แล้ว การมองหาสัญลักษณ์มาตรฐานการรับรองที่ถูกต้องได้มาตรฐานก็เป็นวิธีที่ดีอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคมั่นใจมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้บริโภคควรต้องเรียกหาจากผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เคลมตัวเองว่าเป็นออร์แกนิค นอกจากโลโก้แล้วก็คือ ใบรับรองมาตรฐานออร์แกนิค (Certificate) ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อแสดงว่ามีการขอการรับรองผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริงจากหน่วยตรวจรับรอง เช่น Ecocert เป็นต้น ไม่ใช่เฉพาะใบรับรองวัตถุดิบออร์แกนิคเท่านั้น
ไม่ได้รับการรับรองไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี
ถึงแม้ว่าจะไม่มีโลโก้รับรองบนฉลาก แต่ผลิตภัณฑ์นั้นอาจจะเป็นออร์แกนิคอย่างแท้จริง และปลอดภัย ก็ได้ เพียงแต่ว่าขั้นตอนการขอการรับรองนั้นมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทำให้แบรนด์ขนาดเล็กหลายๆแบรนด์ไม่สามารถที่จะขอการรับรองได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้บริโภคจึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง สิ่งสำคัญคือการอ่านฉลาก ส่วนผสมในแต่ละผลิตภัณฑ์ ว่ามีอะไรที่เป็นสารอันตรายหรือไม่ เป็นต้น