The growing importance of upcycled ingredients in cosmetic formulations
ความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการ Upcycle วัตถุดิบในสูตรเครื่องสำอาง
เราจะสามารถผลิตเครื่องสำอางที่ทั้งดูแลผิวและดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆได้ไหม?
ด้วยความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นและผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพสูงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้วที่ขยะจากอุตสาหกรรมอื่นๆได้ถูกนำมาสร้างคุณค่าใหม่ในวงการเครื่องสำอาง ด้วยการ Upcycle วัตถุดิบจากอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายให้แก่ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ตัวอย่างเช่น การสกัดน้ำมันบริสุทธิ์คุณภาพสูงจากเมล็ดผลไม้ และกากผลไม้จากอุตสาหกรรมคั้นน้ำผลไม้ (ซึ่งใช้โดยเฉลี่ยเพียง 70% ของผลไม้ ส่วนที่เหลือมักจะถูกฝังกลบ เว้นแต่เราจะเอาไป Upcycled เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง) หรือการนำกากกาแฟที่ใช้แล้วกลับไปสครับผิว การสร้างสารสกัดจากผักที่มีกลิ่นหอมที่ถูกปฏิเสธจากซูเปอร์มาร์เก็ต และการจัดหาน้ำมันรำข้าวที่เหลือจากอุตสาหกรรมการสีข้าว
การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีความยั่งยืนนั้น ไม่ได้หมายถึงการลดประสิทธิภาพลง
ในความเป็นจริงสารประกอบที่ไม่ต้องการหรือไม่จำเป็นในอุตสาหกรรมอื่นมักเป็นที่ต้องการในการใช้งานด้านอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เนื่องจากฤทธิ์ทางชีวภาพ ตัวอย่างเช่นปริมาณโพลีฟีนอลสูงในมะกอกมีรสขมต่อน้ำมันมะกอก แต่สารประกอบเดียวกันนี้มีคุณค่าอย่างมากสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เนื่องจากมีคุณสมบัติในการดูแลผิว เหมือนกับอุตสาหกรรมอาหารใช้น้ำผลไม้และเนื้อของมะเขือเทศเพื่อรสชาติที่โดดเด่น แต่เปลือกที่ถูกทิ้งมีส่วนผสมของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่สูงที่สุดเช่นไลโคปีนที่มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระ
อุตสาหกรรมอื่น ๆ ก็สามารถให้วัตถุดิบที่มีคุณค่าเช่นกัน อย่างเช่น บริษัทในแคนาดา ที่มีปัญหาของเสียจากอุตสาหกรรมป่าไม้ เนื่องจากเปลือกไม้ถูกเผาหรือฝังเป็นประจำทำให้เกิดปัญหามลพิษที่เพิ่มขึ้นในอากาศและดิน ซึ่งจริงๆแล้วเปลือกของต้นไม้อุดมไปด้วยโพลีฟีนอลซึ่ง เมื่อสกัดในลักษณะที่ถูกต้องแล้ว สามารถนำไปผสมกับสารสกัดแอคทีฟที่ให้ประโยชน์หลายประการแก่ผิวและเส้นผม หนึ่งในสารสกัดแอคทีฟเหล่านี้ให้ประโยชน์ในการต่อต้านมลภาวะ นับเป็นทางออกที่น่าพึงพอใจในการช่วยโลกจากมลภาวะที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับปกป้องผิวของคุณจากอันตราย
ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แหล่งสารสกัดใหม่ ๆ ก็สามารถค้นพบได้เรื่อยๆ อย่างเช่น รากหญ้าแฝกที่ใช้ในการผลิตน้ำหอมในอุตสาหกรรมน้ำหอมนั้น ถูกนำมาปรับใช้ใหม่เป็นสารแอคทีฟในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านริ้วรอยและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว และยังสามารถช่วยให้กลิ่นหอมติดทนนาน
Upcycled ingredients นับว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังมา
และไม่จำกัดแค่เพียงสารแอคทีฟเท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงสารให้ประโยชน์อื่นๆด้วย เช่น เปลือกมะนาวที่ถูกนำมาใช้เป็นน้ำมันหอมระเหยในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง แต่ด้วยเทรนด์ upcycle ได้เปลี่ยนไปเป็นสารขึ้นเนื้อ - pectin (สารที่ทำให้แข็งตัว) ซึ่งในอุตสาหกรรมอาหารใช้บ่อยในการขึ้นเนื้อแยม ผู้ผลิตสารสกัดเครื่องสำอางก็ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งนี้และนำมาพัฒนาเนื้อแบบใหม่ๆ สามารถสร้างเนื้อเจลลี่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ ในสูตรผลิตภัณฑ์ดูแลผิวได้โดยไม่ทำร้ายต่อโลก
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไม่เพียงแต่มองหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ เท่านั้น ยังให้ส่วนผสมสำหรับอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย ก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการผลิตอิมัลชันถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ ทั้งที่ยังอุดมไปด้วยสารอาหารมากมายเหมาะที่จะใช้เป็นปุ๋ยสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร สิ่งนี้กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้าคอนเซ็ป Zero-waste ด้วยการทำให้ของเสียจากการผลิตสารสกัดแอคทีฟหลายๆตัวได้กลายเป็นปุ๋ยให้แก่พืชผลต่อไป
ความท้าทายใหม่ๆในการพัฒนาส่วนผสม Upcycle
ถ้าหากในอุตสาหกรรมของเรามุ่งเน้นการใช้ส่วนผสม Upcycle เพิ่มมากขึ้น เราก็ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ การปรับส่วนผสมของเครื่องสำอางตามวัสดุเหลือทิ้งของบริษัทอื่นซึ่งไม่สามารถควบคุมกระบวนการขั้นตอนการผลิตได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้เช่นกัน
การเคลมสินค้าจากส่วนผสมที่มาจากการ Upcycle
การเคลมสินค้าเช่น ออร์แกนิก วีแก้น ฮาลาล หรือธรรมชาติ นั้นทำได้ยากกว่าเนื่องจากส่วนผสมนั้นไม่ได้ถูกเตรียมมาเพื่อขอรับการรับรองเหล่านี้ตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเช่นต้นโอ๊กที่ถูกทิ้งจากการผลิตถังไวน์ ถูกนำมาใช้ในฐานะสารต้านอนุมูลอิสระในเครื่องสำอาง แต่สิ่งนี้ไม่สามารถถือว่าเป็นออร์แกนิคได้ แม้ว่าตัววัตถุดิบดั้งเดิมจะเป็นออร์แกนิค แต่กระบวนการแปรรูประหว่างนั้นอาจจะไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนออร์แกนิค
ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
การรีไซเคิลขยะพลาสติกเป็นเป้าหมายมานานหลายทศวรรษ ล่าสุด เทคโนโลยีใหม่ช่วยให้เราสามารถรีไซเคิลพลาสติกโพลีเอทิลีนแบบใช้ครั้งเดียว เช่นจากถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งไปสู่การป้อนของเหลวที่มีค่าสำหรับอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงแว็กซ์และสารทำให้ผิวนุ่ม
ในขณะที่เราก้าวไปสู่การผลิตเครื่องสำอางที่ยั่งยืน ผลกระทบและการใช้งานของปิโตรเคมีก็ไม่สามารถเพิกเฉยได้ เพราะเราพยายามที่จะปรับปรุงไม่เพียงแค่ส่วนของวัตถุดิบเท่านั้นแต่ครอบคลุมทั้งวงจรการผลิต การหาวัตถุดิบทางเลือกที่เป็น Plant-base มาทดแทนปิโตรเคมีอย่างสมบูรณ์ ถือเป็นอีกหัวข้อใหญ่ที่มีการอภิปราย แต่การพัฒนาเหล่านี้ทำให้เรามีความหวังว่าในอนาคต เราจะได้รับประโยชน์จากวัสดุปิโตรเคมีในลักษณะที่ยั่งยืนและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
การผสมผสานส่วนผสมที่ทันสมัยและส่วนผสมที่ใช้แล้วในสูตรผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ และเครื่องสำอางค์สี ส่วนผสมเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพ ถือเป็นความสำเร็จอีกอย่างหนึ่ง
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์และปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่เสมอดังนั้นเราจึงรอคอยที่จะเห็นว่าผู้ผลิตส่วนผสมเครื่องสำอาง เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ด้วย ด้วยการ Upcycle วัตถุดิบ รุ่นต่อรุ่น เพื่อเข้าใกล้ Zero-waste มากที่สุด เป็นเศรษฐกิจวงกลม