ตลาดสินค้าเครื่องสำอางในญี่ปุ่น
จากผลการสำรวจและวิเคราะห์โดยบริษัท Yano Research Institute
ตลาดสินค้าเครื่องสำอางในประเทศญี่ปุ่นของปี 2018 (เมษายน 2018 - มีนาคม 2019)
มีมูลค่ารวมกว่า 2.61 ล้านล้านเยน (7.9 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 4.2% จากสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ผู้ผลิตออกจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติสูง และอัตราการซื้อที่เพิ่มมากขึ้นจากกลุ่มนักท่องเที่ยว
มูลค่าและสถานะทางการตลาด เมื่อแบ่งตามประเภท
นับเป็นสินค้าที่มีความนิยมมากที่สุดเมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของมูลค่าการจำหน่ายเครื่องสำอางทั้งหมด
โดยสินค้าที่ขายได้ดีคือ ครีมล้างหน้า, Reform & Beauty liquid สินค้าลบเลือนริ้วรอยเหี่ยวย่นในผู้สูงวัย นับเป็นสินค้าประเภทใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมในตลาดอย่างสูง
สินค้าที่ขายดีคือ Point Make-up อย่างเช่น บรัชออน มาสคาร่า ลิปสติก เป็นต้นที่ได้รับความนิยมในกลุ่มวัยรุ่น รวมถึงสินค้าประเภท Base Make-up ก็มีความนิยมเพิ่มขึ้น ทั้งครีมหรือ liquid ที่ช่วยเพิ่มความใสให้ใบหน้าดูเป็นธรรมชาติ รวมไปถึงประเภท Control color และ Face powder ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้มีปัญหาผิวได้เป็นอย่างดี
สินค้าที่ผลิตจากพืช มีความเป็นธรรมชาติและออร์แกนิค กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก และยาย้อมผมที่ให้สีสรรสไตล์แฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภควัย 40 ปีก็มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับผู้ชายก็กำลังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะระเภทบำรุงผิวพรรณ, ครีมล้างหน้า, Face sheet และโลชั่นซึ่งให้ความชุ่มชื่นต่อผิวหน้าและช่วยต่อต้านริ้วรอย
สินค้าราคาสูงอย่างเช่น น้ำหอมสำหรับผู้ชาย และน้ำหอมแฟชั่น ต่างก็ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค GEN Y
แนวโน้มทางการตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
ปัจจุบันผู้จัดจำหน่ายได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการโฆษณาส่งเสริมการขาย ไม่ว่าจะเป็นการขายออนไลน์ หรือแอปพลิเคชั่นบนมือถือ และระบบ AI ซื่งช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพ วิธีการใช้ ลักษณะพิเศษของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ เป็นต้น
ธุรกิจเครื่องสำอางนับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรง และกำลังได้รับความสนใจจากบริษัทใหญ่ๆหลายบริษัท หลายๆแบรนด์เริ่มเปิดตัวเครื่องสำอางในแบรนด์ของตัวเองทั้งที่ธุรกิจที่ผ่านมาไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสวยความงามเลยก็ตาม
เป็นกลุ่มตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มขยายตัว โดยผู้ชายญี่ปุ่นมีความใส่ใจใน ผิวพรรณ รูปลักษณ์ของตนมากขึ้น
ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่คาดว่าจะมีจำนวนมากขึ้นภายใต้สังคมผู้สูงอายุ ของญี่ปุ่น ได้มีผลสำรวจพบว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความสนใจมากที่สุดในผลิตภัณฑ์บำรุงผิว Base Make-up และ Point Make-up โดยมักจะหาข้อมูลผ่านทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอินเตอร์เน็ท
ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะยังเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ระบบการกระจายสินค้า 4 ช่องทาง
1. Institutional distribution ได้แก่ การกระจายสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตไปยังผู้ค้าปลีก โดยผู้ผลิตจะส่งพนักงานจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญ หรือ Beauty Counsellor ไปทำการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า
2. การกระจายสินค้าผ่านผู้ค้าส่ง ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศทำให้สามารถกระจายสินค้าไปยังห้างสรรพสินค้า Drug store หรือ Convenience store ทุกพื้นที่ในประเทศ โดยมักจะเป็นสินค้าที่มีระดับราคาไม่สูง
3. การจำหน่ายผ่าน Home visit ซึ่งผู้ผลิตจะส่งพนักงานจำหน่ายสินค้าไปตามบ้านเรือนหรือสถานที่ทำงาน
4. การกระจายสินค้าผ่าน E-commerce
การนำเขาสินค้าเครื่องสำอางของญี่ปุ่น
1. ฝรั่งเศส (สินค้าน้ำหอมและสินค้าประเทืองความงาม-บำรุงผิว) 24.2%
2. จีน (สินค้าเครื่องสำอางอื่ๆ และสบู่) 15.1%
3. ไทย (ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม) 14.3%
4. สหรัฐฯ 13.7%
5. เกาหลีใต้ 9.4%
1. ต้องมีการขออนุญาต
สำหรับบริษัทผู้นำเข้าสินค้าเครื่องสำอางเข้าไปยังญี่ปุ่น ทั้งในฐานะผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่าย
2. มาตรฐานความปลอดภัย
สินค้าเครื่องสำอางที่จะวางจำหน่ายในญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องขออนุญาต หากมีระบุส่วนผสมทั้งหมด แต่ผู้นำเข้าต้องได้รับอนุญาตในฐานะ “ผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอาง” ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจเช็คว่าเครื่องสำอางนั้นมีส่วนผสมเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดของญี่ปุ่นหรือไม่ โดยหลักการจะต้องไม่มีส่วนผสมที่ต้องห้าม (Negative List) หรือ มีส่วนผสมที่ต้องห้ามหรือถูกจำกัดภายในปริมาณที่กำหนด (Positive List)
3.เครื่องสำอางออร์แกนิค
ในกฎหมายญี่ปุ่นปัจจุบัน ยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเครื่องสำอางออร์แกนิค ดังนั้น การนำเข้าเครื่องสำอางออร์แกนิคเข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นจึงยังเป็นการพิจารณาโดยผู้นำเข้าเองว่าจะจำหน่ายในญี่ปุ่นเป็นเครื่องสำอางออร์แกนิคหรือไม่ ทั้งนี้มีองค์กรอิสระ Japan Organic Cosmetics Association (JOCA)10 ได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานและให้การรับรองเครื่องสำอางออร์แกนิค และ ในญี่ปุ่นมีเครื่องสำอางอีกประเภทที่เรียกว่า “เครื่องสำอางธรรมชาติ” หรือ Natural Cosmetic ซึ่งต่างกับเครื่องสำอางออร์แกนิค กล่าวคือ เครื่องสำอางธรรมชาติผลิตจากวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ และใช้ส่วนผสมที่เป็นสารเคมีให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนเครื่องสำอางออร์แกนิคผลิตจากวัตถุดิบที่เป็นพืชอินทรีย์ (Organic plants)
ข้อมูลอ้างอิง
กรมส่งเสริมกระทรวงการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์